เมนู

พรหม เขาสิ้นธรรม สิ้นฤทธิ์ สิ้นยศ หมดความเป็นใหญ่แล้ว
เป็นผู้ไม่ต้องกลับมา คือ ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ก่อนสารีบุตร
นี้ เหตุปัจจัย เป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้นที่บุคคลบางคนในโลกนี้
ให้แล้ว มีผลมาก ไม่มีอานิสงส์มาก และเป็นเครื่องให้ทานเช่นนั้น
ที่บุคคลบางคนในโลกนี้ให้แล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก.
จบ ทานสูตรที่ 9

อรรถกถาทานสูตรที่ 9


ทานสูตรที่ 9

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
บทว่า สาเปกฺโข แปลว่า มีตัณหาความอยาก บทว่า ปฏิพทฺธ-
จิตฺโต
ได้แก่ มีจิตผูกพันในผลทาน. บทว่า สนฺนิธิเปกฺโข ได้แก่
ผู้มุ่งฝังจิตลงในทาน. บทว่า เปจฺจ ได้แก่ไปถึงโลกอื่นแล้ว บทว่า
ตํ กมฺมํ เขเปตฺวา ให้ผลของกรรมนั้นสิ้นไป. บทว่า อิทฺธึ ได้แก่
ฤทธิ คือ วิบาก. บทว่า ยสํ ได้แก่ ความพรั่งพรัอมด้วยบริวาร.
บทว่า อาธิปเตยฺยํ ได้แก่ เหตุแห่งความเป็นใหญ่. บทว่า อาคนฺตุ
อิตฺถตฺตํ
ความว่า ยังกลับมาเป็นอย่างนี้ คือ กลับมาสู่ขันธปัญจกนี้
(ขันธ์ 5) อีก. อธิบายว่า เขาจะไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก จะไม่ผุดเกิด
ขึ้นในภพสูงขึ้นไป แต่จะกลับมาภพเบื้องต่ำเท่านั้น. บทว่า สาหุ ทานํ
ชื่อว่า ทานนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จดีงาม. บทว่า ตานิ มหายญฺญานิ
ความว่า มหาทานเหล่านั้น สำเร็จด้วยเนยใส เนยข้น นมส้ม น้ำผึ้ง
และน้ำอ้อยเป็นต้น. บทว่า จิตฺตาลงฺการํ จิตฺตปริกฺขารํ ความว่า
เป็นเครื่องประดับและเป็นเครื่องแวดล้อมจิต อันสัมปยุตด้วยสมถะ

และวิปัสสนา. บทว่า พฺรหฺมกายิกานํ เทวานํ สหพฺยตํ ความว่า
เขาไม่อาจเกิดขึ้นในภูมินั้นได้ด้วยทาน ก็เพราะเหตุที่ทานนั้น เป็น
เครื่องประดับจิตอันประกอบด้วยสมถะและวิปัสสนา ฉะนั้น เขาจึง
ทำฌานและอริยมรรคให้บังเกิด ด้วยจิตอันประดับด้วยทานนั้นแล้ว
ย่อมเกิดขึ้นในภูมินั้นด้วยฌาน.
บทว่า อนาคามิ โหติ ความว่า เป็นพระอนาคามี ผู้ไม่กลับมา
เพราะฌาน. บทว่า อนาคนฺตา อิตฺถตฺตํ ความว่า ไม่กลับมาสู่ภาวะ
ความเป็นอย่างนี้อีก ไม่ผุดเกิดในภพสูง ๆ หรือไม่ผุดเกิดในภพนั้นอีก
ย่อมปรินิพพานในภพนั้นเอง.
ดังนั้น บรรดาทานเหล่านี้ :-
ทานที่ 1 ชื่อว่า ตณฺหุตฺตริยทานํ การให้อันยิ่งด้วยความอยาก.
ทานที่ 2 ชื่อว่า วิตฺตีการทานํ ให้ด้วยความยำเกรง
ทานที่ 3 ชื่อว่า หิโรตฺตปฺปทานํ ให้ด้วยละอายและเกรงกลัว
ทานที่ 4 ชื่อว่า นิรวเสสทานํ ให้ด้วยไม่ให้เหลือเศษ
ทานที่ 5 ชื่อว่า ทกฺขิเณยฺยทานํ ให้แก่พระทักขิเณยยบุคคล
ทานที่ 6 ชื่อว่า โสมนสฺสูปวิจารทานํ ให้ด้วยอิงอาศัยโสมนัส
ทานที่ 7 ชื่อว่า อลงฺการปริวารทานํ ให้เป็นเครื่องประดับ
และเป็นบริวาร (แห่งจิต)
จบ อรรถกถาทานสูตรที่ 9

10. มาตาสูตร


[50] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ
จาริกไปในทักษิณาคีรีชนบท พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ ก็สมัย
นั้นแล นันทมารดา อุบาสิกา ชาวเมืองเวฬุกัณฏกะ ลุกขึ้นในเวลา
มหาราชมีกรณียกิจบางอย่าง เสด็จจากทิศอุดรไปยังทิศทักษิณ
ได้ทรงสดับนันทมารดาอุบาสิกาสวดปารายนสูตรทำนองสรภัญญะ
ประทับรอฟังจนจบ ขณะนั้น นันทมารดาอุบาสิกา สวดปารายนสูตร
ทำนองสรภัญญะจบแล้วนิ่งอยู่ ท้าวเวสสวัณมหาราชทรงทราบว่า
กถาของนันทมารดาอุบาสิกาจบแล้ว จึงทรงอนุโมทนาว่า สาธุ
น้องหญิง สาธุ น้องหญิง นันทมารดาอุบาสิกาถามว่า ก่อนท่าน
ผู้มีพักตร์อันเจริญ ท่านนี้คือใครเล่า.
เว. ดูก่อนน้องหญิง เราคือท้าวเวสสวัณมหาราช ภาดาของเธอ.
น. ดูก่อนท่านผู้มีพักตร์อันเจริญ ดีละ ถ้าเช่นนั้น ขอธรรม
บรรยายที่ดิฉันสวดแล้วนี้เป็นเครื่องต้อนรับแด่ท่าน.
เว. ดูก่อนน้องหญิง ดีแล้ว นั่นจงเป็นเครื่องต้อนรับแก่ฉัน
พรุ่งนี้ ภิกษุสงฆ์มีท่านพระสารีบุตรและท่านมหาโมคคัลลานะ
เป็นประมุข ยังไม่ได้ฉันเช้า จักมาถึงเวฬุกัณฏกนคร เธอพึง
อังคาสภิกษุสงฆ์หมู่นั้น แล้วพึงอุทิศทักษิณาทานให้ฉันด้วย ก็การ
ทำอย่างนี้ จักเป็นเครื่องต้อนรับฉัน.